• Home
  • /
  • Event Blogs
  • /
  • ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงของไทย
ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงของไทย

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงของไทย

วันลอยกระทงถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของคนไทย จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งมักจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา จึงมักจะเห็นในหลายพื้นที่จัดงานเทศกาลลอยกระทงตามบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

 

ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ ตำนานกล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยนำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบัน…(ขอขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org)

 

ลอยกระทง, Loy Kra Thong

 

โดยในแต่ละภูมิภาคของไทยก็จะมีประเพณีและชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น

ภาคเหนือ มักนิยมทำโคมลอย จึงเรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึง การทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)

ภาคอีสาน เรียกว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง

ภาคกลาง ในกรุงเทพมหานคร จะมีการจัดงานวัดภูเขาทอง ราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง

ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในแต่ละพื้นที่ มีการประกวดการทำกระทง เป็นต้น

Leave a Reply